← Articles List
Mathematics
อนุกรมเทย์เลอร์มาจากไหน? เฉลยกลไกการประมาณฟังก์ชันสุดมหัศจรรย์
ก่อนที่จะเริ่ม
บทความนี้จัดทำมาเพื่อชดใช้กรรมของตัวเองที่ไม่ได้ตั้งใจเรียนในช่วงปี 1 (555) ดังนั้นเนื้อหาภายในบทความนี้จะ assume ว่าผู้อ่านน่าจะพอมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแคลคูลัสมาบ้างแล้ว อย่างน้อยก็ระดับมัธยมปลาย
บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป นักเรียน นักศึกษา หรือคนที่นอนไม่หลับเพราะคาใจว่าอนุกรมนี้ถูกเสกมาจากไหน
อนุกรมเทย์เลอร์ (Taylor series)
ในทางคณิตศาตร์ อนุกรมเทย์เลอร์คือฟังก์ชันที่เขียนในรูปแบบผลรวมของอนุกรมอนันต์ โดยใช้สำหรับประมาณค่าของฟังก์ชันใด ๆ ในบริเวณจุด ๆ หนึ่ง เนื่องจากบางฟังก์ชันที่ซับซ้อนสามารถคำนวณเพื่อประมาณค่าได้ง่ายกว่าหากนำมาเขียนในรูปอนุกรมเทย์เลอร์
อนุกรมนี้สำคัญมากในการคำนวณทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากช่วยให้สามารถประมาณค่าของฟังก์ชันที่ซับซ้อนในขอบเขตที่กำหนดโดยใช้แค่อนุกรมเพียงไม่กี่พจน์เท่านั้น
สมมุติว่าเรามีฟังก์ชันf(x)
ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ซับซ้อน หรือคำนวณค่าที่เป็นเลขสวย ๆ ได้ยาก เช่น sin(x)
cos(x)
หรือ e^x
เราสามารถเขียนในรูปแบบอนุกรมเทย์เลอร์ได้ดังนี้
เมื่อ a
คือบริเวณจุดที่เราสนใจ และจำนวนพจน์จะมีกี่จำนวนก็ได้ขึ้นอยู่กับความแม่นยำที่เราต้องการ กล่าวคือหากเลือกค่า a
เป็นตัวใดก็ตามและยิ่งกระจายหลายพจน์ จะยิ่งทำให้ f(x)
เมื่อ x
มีค่าใกล้ a
ประมาณค่าได้แม่นยำมากขึ้น
ตัวอย่างการใช้งาน
สมมุติว่าเรามีฟังก์ชัน f(x) = sin(x)
เรารู้ว่าฟังก์ชันนี้สามารถรู้ค่าได้เลยหาก x เป็นค่าที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี เช่น f(π) = 0
f(π/4) = sqrt(2)/2
หรือ f(π/6) = 1/2
เป็นต้น แล้วถ้าเราอยากรู้ค่าของ f(0.5)
ล่ะ?
ดังนั้นเราจะลองใช้สูตรอนุกรมเทย์เลอร์เฉพาะ 4
พจน์แรกเข้ามาช่วยประมาณค่า
เนื่องจากว่าเราสนใจค่า 0.5
ในตัวอย่างนี้จะขอเลือก a = 0
เนื่องจากง่ายต่อการคำนวณมากกว่า ดังนั้นจะสามารถเขียนเป็นรูปอนุกรมได้ดังนี้
ทีนี้เราก็หาค่าและอนุพันธ์ของ f(0)
ตั้งแต่ลำดับ 1 ถึง 3 (ถ้าจำวิธีไม่ได้ก็เปิดสูตรอนุพันธ์ซะ)
จากนั้นเราก็แทนค่าลงไปในสูตร
ตัดพจน์ที่มี 0 ออกและจัดรูปใหม่จะกลายเป็น
เมื่อแทนค่าด้วย 0.5
เราจะได้ว่า
เมื่อนำค่าประมาณมาเทียบกับเครื่องคิดเลข จะเห็นว่าค่าที่เราหาได้นั้นถือว่ามีความแม่นยำแทบจะ 100% เลย
f(x) = sin(x)
(เส้นสีดำ) และ p(x) = x - 1/3! * x^3
(เส้นสีเหลือง)
จะเห็นได้ว่าอนุกรมเทย์เลอร์เป็นเหมือนฟังก์ชันที่พยายามเลียนแบบฟังก์ชันจริง เพื่อใช้ประมาณค่าและคำนวณได้ง่ายกว่า ในบริเวณที่ x = 0
(รอบจุด a = 0
)
หลักการที่แท้จริงของอนุกรมเทย์เลอร์
ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจทฤษฎีบทเบื้องต้นเสียก่อน จึงจะทำให้บรรลุแนวคิดของอนุกรมเทย์เลอร์ นั่นคือ
ทุกฟังก์ชัน
f(x)
ต่อเนื่องใด ๆ ซึ่งx
เป็นจำนวนจริงที่อยู่ในช่วงปิด[a, b]
ไม่ว่าฟังก์ชันจะซับซ้อนแค่ไหน เราสามารถหาพหุนามp(x)
ที่ทำให้|f(x)-p(x)| < ε
ได้เสมอ
อธิบายเป็นภาษาง่าย ๆ ก็คือ ทุกฟังก์ชันที่ต่อเนื่อง เราสามารถใช้พหุนาม (a+bx+cx^2+...
) ในการประมาณค่าของฟังก์ชันในช่วงที่กำหนดได้ และสามารถทำให้มีค่าคลาดเคลื่อน (ε
) ต่ำเท่าที่ต้องการได้
อนุกรมเทย์เลอร์มาจากการสร้างพหุนาม p(x)
ที่พยายามเลียนแบบฟังก์ชัน f(x)
ให้เท่ากันที่จุด x = a รวมถึงอนุพันธ์ทุกลำดับด้วย
ทีนี้เรามาลองดูวิธีแบบ step by step กันดีกว่า
สมมุติว่าเราจะสร้างพหุนาม p(x)
ดีกรี 4 เพื่อเลียนแบบฟังก์ชัน f(x) = e^x
ที่จุด x = a
โดยกำหนดให้ a = 0
f(x) = e^x
พนุนามดีกรี 4 จะเขียนในรูปต่อไปนี้
หน้าที่ของเราก็คือการหาค่าสัมประสิทธิ์ c0 ถึง c4
ที่ทำให้ p(0)
มีค่าเท่ากับ f(0)
โดยขั้นแรกเราจะตั้งสมการโดยกำหนดให้ค่าของทั้งสองฟังก์ชันเท่ากันก่อน
f(x) = e^x
(เส้นสีดำ) และ p(x) = 1
(เส้นสีเหลือง)
จากการแก้สมการจะทำให้ได้ค่า c0
มาเนื่องจาก x = 0
ทำให้ c1
ถึง c4
หายไปหมด จึงเหลือ c0
ซึ่งเป็นค่าคงที่
แต่ทีนี้ p(x)
ยังมีความแม่นยำเพียงจุดเดียว ดังนั้นเราจะหาค่าสัมประสิทธิ์ตัวต่อไปกัน
แนวคิดก็คือนอกจากค่าของฟังก์ชัน p(0)
ต้องเท่ากับ f(0)
แล้ว อัตราการเปลี่ยนแปลงหรืออนุพันธ์ของทั้งสองฟังก์ชัน ที่ a = 0
ก็ควรจะเท่ากันด้วย ดังนั้นเราจะหาอนุพันธ์ทั้งสองข้างแล้วมาลองแก้สมการดูกัน
f(x) = e^x
(เส้นสีดำ) และ p(x) = 1 + x
(เส้นสีเหลือง)
ทีนี้ก็จะได้ค่า c1
ไปแทนที่ในพหุนามได้แล้ว จะทำให้อนุพันธ์ของ p(0)
มีค่าเท่ากับอนุพันธ์ของ f(0)
ยิ่งทำให้อนุพันธ์ลำดับสูง ๆ ของสองฟังก์ชันนี้เท่ากัน พหุนาม p(x)
จะยิ่งมีหน้าตาใกล้เคียงกับ f(x)
มากขึ้น ในการหาค่าสัมประสิทธิ์ต่อไปก็จะใช้วิธีเดียวกันแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
มาลองดูกัน
f(x) = e^x
(เส้นสีดำ) และ p(x) = 1 + x + (1/2) * x^2
(เส้นสีเหลือง)
หาค่า c3
ด้วยอนุพันธ์ลำดับที่ 3
f(x) = e^x
(เส้นสีดำ) และ p(x) = 1 + x + (1/2) * x^2 + (1/6) * x^3
(เส้นสีเหลือง)
สุดท้าย หาค่า c4
ด้วยอนุพันธ์ลำดับที่ 4
f(x) = e^x
(เส้นสีดำ) และ p(x) = 1 + x + (1/2) * x^2 + (1/6) * x^3 + (1/24) * x^4
(เส้นสีเหลือง)
ที่นี้เราก็สามารถสร้างพหุนามดีกรี 4 สำหรับเลียนแบบ f(x) = e^x
ได้แม่นยำระดับนึงแล้ว
ลองสังเกตว่าเวลาหาอนุพันธ์ลำดับต่าง ๆ จะทำให้พจน์ก่อนหน้าหายไปเนื่องจากการอนุพันธ์ และจะทำให้พจน์ที่มีดีกรีสูงกว่าหายไปด้วยเนื่องจากกำหนดให้ x = 0
ตัวอย่างเช่น ต้องการหาอนุพันธ์ลำดับที่ 3
จะเป็นดังนี้
ทีนี้ลองมาเขียนให้อยู่ในรูปทั่วไปดู
และเนื่องจาก p(0) = f(0)
สำหรับอนุพันธ์ทุกลำดับ
ทีนี้เราก็จะได้ค่า c_n
สำหรับทุกพจน์ในพหุนามแล้ว
ดังนั้นก็สามารถแทนค่าลงในรูปทั่วไปของพนุนามได้ดังนี้
อันที่จริงการที่พิจารณารอบจุด a = 0
เรียกว่า อนุกรมแมคลอรีน เป็นการประยุกต์มาจากสูตรทั่วไปของอนุกรมเทย์เลอร์อีกที
ถ้าหากเราสนใจรอบจุด a
ก็เพียงพิจารณาฟังก์ชันในจุด a
และสร้างพหุนามโดยที่ให้ x - a
ก็จะกลายเป็นสูตรอนุกรมเทย์เลอร์ทั่วไปที่เรารู้จักกันนั่นเอง
สรุป
แนวคิดหลักของอนุกรมเทย์เลอร์ คือการสร้างพหุนามเพื่อเลียนแบบฟังก์ชันใด ๆ รอบจุด a
โดยพยายามทำให้ความโค้งหรืออัตราการเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกับฟังก์ชันจริงมากที่สุด และเมื่อฟังก์ชันมีวิธีคำนวณที่ซับซ้อน การประมาณค่าในรูปแบบพหุนามที่เราสร้างนั้นอาจจะง่ายกว่า อนุกรมเทย์เลอร์ยังสามารถนำไปประยุกต์ได้หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ วิศวกรรม รวมไปถึง AI อีกด้วย
โดยทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงแค่หลักการเบื้องต้นเท่านั้น บางฟังก์ชันอาจจะไม่สามารถประมาณค่าได้มากกว่านี้หากจำนวนพจน์สูงขึ้น แต่สำหรับบทความนี้ก็น่าจะเพียงพอที่จะให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดเบื้องต้นของอนุกรมเทย์เลอร์แล้ว หวังว่าจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจที่มาที่ไปอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย :D
Authored by Shiroronekonene